HDPE SHEET
คุณสมบัติ HDPE SHEET
– ขบวนการในการผลิตจะควบคุมอย่างเข้มงวดด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแสดงความหนา ความกว้าง และความยาวของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
– GEMEMBRANE (HDPE) ผลิตจากเรซิน คุณภาพชั้นหนึ่ง มีความบริสุทธิ์ น้ำหนักโมเลกุลสูง ไม่มีการเจือปนสารอื่น เศษเรซินที่เกิดขึ้นในขณะที่ผลิตอาจนำมาผสมเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้อีกไม่เกิน 2% ไม่มีเรซินชนิดอื่นหรือที่ใช้แล้วนำมาผสมใหม่
– เรซินที่นำมาผลิต GEOMEMBRANE ต้องกำหนดให้สามารถต้านทานสารเคมี และความเสื่อมโทรม อันเกิดจากรังสีอุลตราไวโอเลต
– GEOMEMBRANE จะถูกส่งออกจากโรงงานโดยไม่มีรอยต่อ
– การจัดส่ง และการเก็บรักษา GEOMEMBRANE ต้องเก็บโดยการม้วน ไม่ใช้วิธีพับ
วิธีการติดตั้ง HDPE SHEET
น้ำนับเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อประโยชน์ ให้เกิดผลผลิตในรูปแบบต่างๆ ทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบัน ทำให้มนุษย์เราได้พัฒนาจักสรรการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันแหล่งน้ำซึ่งนับเป็นจุดแรกของระบบการใช้น้ำก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ เพื่อรองรับประมาณการใช้อย่างเพียงพอ อีกทั้งช่วยให้ระบบนิเวศวิทยาดีขึ้น PVC SHEET ผลิตจากแผ่นพีวีซีชนิดยึดหยุ่น (Flexible) Polyvinyl Chloride Sheet ขึ้นมาสำหรับใช้งานปูรองอ่างเก็บน้ำ และงานโยธา ซึ่งคุณสมบัติพิเศษ ที่ทนต่อรังสีอุลตร้าไวโอเลต, เชื้อรา และ แรงดึงฉีกขาดได้มาตราฐานตาม มอก.575-2528 เหมาะสำหรับงานตกแต่งส่วนหย่อม, สนามกอล์ฟ มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
ประโยชน์การใช้งาน
– ปูรองอ่างเก็บน้ำ
– ปูรองเขื่อน, ฝ่าย และ คลองชลประทาน
– ปูรองอ่างเก็บกากของเสีย และ บ่อบำบัดน้ำเสีย
– ปูรองอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ในขบวนการผลิต
– คลุมแปลงเพาะปลูกพืชสวน
– บ่อ Biogas
การออกแบบกรรมวิธีการปูรองอ่างเก็บน้ำ
การออกแบบกรรมวิธีปูอ่างเก็บน้ำ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการใช้งาน ลักษณะภูมิประเทศตลอดจน ลักษณะทางธรรมชาติของพื้นที่บริเวณนั้นๆ ได้แก่ดินเหนียวหรือดินร่วนปนทราย, มีหินแหลมคมหรือไม่, ตลอดจนถึงระบบน้ำจากใต้ดิน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา ในการศึกษาเพื่อออกแบบได้ถูกต้อง และเหมาะสมกับการใช้งาน
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1. แผ่นพลาสติกพีวีซี ผลิตจาก POLYVINYL CHLORIDE HOMO POLYMER RESIN
2. ความหนาสม่ำเสมอ และคลาดเคลื่อนไม่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ +- 10%
3. ทนต่อรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV)
PE (Polyethylene)
แผ่นพลาสติก พีอี สำหรับงานรองพื้นก่อนเทคอนกรีต
แผ่นพลาสติกอ่อน (POLYETHYLENE) ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีเอททีลีน ความหนาแน่นต่ำชนิดใหม่ที่ผลิตโดยใช้กระบวนการความดันต่ำ ทำให้ได้เม็ดพลาสติกที่มีคุณภาพสูงความสามารถยึดตัวได้มากกว่าพลาสติกใสทั่วไป ทนต่อแสงแดดกับแรงเสียดทานได้ดีกว่า และ เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับใช้ผลิตเป็นแผ่นพลาสติกที่มีคุณภาพสูง ทางบริษัทฯ ทำให้ได้พลาสติกที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าพลาสติกทั่วไป
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1.แผ่นพลาสติกอ่อนทำจากโพลีเอททีลีนเรซิน
2. เป็นแผ่นพลาสติกอ่อน จะไม่เกาะติดกันเมื่อบรรจุเป็นม้วน
4.ขนาดความกว้างตั้งแต่ 1.50 เมตร ถึง 4 เมตร
5.มีขนาดความหนาตั้งแต่ 0.04 มิลลิเมตร ถึง 0.60 มิลลิเมตร (30 ไมครอน – 600 ไมครอน)
ลักษณะงาน
1.ใช้รองพื้นก่อนเทคอนกรีต
2.ป้องกันน้ำปูนไหลซิมลงในดิน ก่อนการแข็งตัว ของคอนกรีต
3.ป้องกันความชื้น และความเค็มจากพื้นดิน
4.ความหนาขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และลักษณะพื้นที่การใช้งาน
5.สำหรับทำผ้าม่าน และทำ celling เล้าไก่
ลักษณะเด่นของแผ่นพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกแอลดีพีอี
1. คุณสมบัติเชิงกลดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
– ความต้านแรงเจาะทะลุ
– ความต้านแรงแระแทก
– ความยึดตัว
2.สามารถทำได้บาง
3.มีความเหนียวสูง
4.มีความทนทานต่อสารเคมีจำพวกกรด ด่าง ได้ดี
5.ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดี
GEOTEXTILES (แผ่นใยสังเคราะห์สำหรับงานดิน) มีส่วนช่วยในการออกแบบ ระบบเก็บกักกากของเสีย มีความสมบูรณ์ขึ้น ทั้งส่วนที่เป็นกากของเสียจากแหล่งชุมชน และกากของเสียที่เป็นวัตถุมีพิษ geotextiles มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยให้ออกแบบ การกลบฝังกากของเสีย ประสบความสำเร็จ ซึ่งที่ใช้งานจะรวมถึง
– ช่วยป้องกัน GEOMEMBRANE (แผ่นกันการรั่วซึม) ที่ปูไว้กันความเสียหายเนื่องจากการถูกเจาะทะลุ
– ช่วยเป็นตัวกรองของระบบน้ำเสีย (leachate)
ลักษณะการใช้งาน
– ใช้ในการซ่อมแซมทางรถไฟ
– เป็นวัสดุกรองชั้นดินและระบายน้ำ
– เสริมกำลังดินงานสร้างทาง
– วัสดุกรองสำหรับ Gabion
– คันดิน
แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (Geosynthetic Clay Liner : GCL)
แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (GCL) ใช้สำหรับปูแทนการบดอัดดินเหนียวเพื่อเป็นวัสดุกันซึม แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์จะต้องผลิตและได้รับการรับรองคุณภาพวัสดุจากสถาบันทดสอบทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสามารถทำการทดสอบแผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ได้
ลักษณะทางกายภาพ แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์จะต้องประกอบด้วยโซเดียมเบนโทไนต์ชนิดดี บรรจุอยู่ระหว่างแผ่นใยสังเคราะห์ 2 ชั้น ชั้นที่ 1 แผ่นใยสังเคราะห์แบบไม่ถักทอ (Non-Woven Geotextile) ชนิด Polypropylene สีขาว ชั้นที่ 2 แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดถักทอ (Woven Geotextile) โดยทั้งหมดจะยึดติดกันด้วยวิธีการ Needle–punched โดยตลอดทั้งหน้าตัดและที่ด้านนอกสุดของวัสดุแผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (GCL) นี้ 1 ด้าน จะต้องมีชั้นของ HDPE SHEET ยึดติดอยู่ด้วยกันอย่างดีตลอดพื้นที่เต็มของม้วนแผ่นดินเหนียวสังเคราะห์มาจากโรงงานผู้ผลิตเพื่อช่วยเสริมความต้านทานการซึมผ่านของน้ำ
คุณประโยชน์ของแผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (GCL)
– ใช้โดยทั่วไปในการป้องกันการรั่วซึมของน้ำ
– ใช้แทนการป้องกันการรั่วซึมโดยชั้นดินเหนียว
– เพิ่มปริมาตรการฝังกลบในบ่อฝังกลบขยะ
– สามารถติดตั้งง่าย
– ลดการพึ่งพาสภาพอากาศในช่วงเวลาติดตั้ง
โครงการที่นิยมใช้แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (GCL)
– บ่อฝังกลบขยะมูลฝอย, บ่อบำบัดน้ำเสีย
– บ่อกักเก็บน้ำดิบ
– คลอง, เขื่อน
ตาข่ายคลุมดิน – GEOCELL
เป็นแผงตาข่ายที่ทำจากวัสดุพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene : HDPE ) ซึ่งออกแบบมาในรูปร่างแผงตาข่ายเป็นช่อง ๆ คล้ายรังผึ้ง
ตาข่ายคลุมดิน ( GEOCELL ) มีคุณสมบัติพิเศษในการใช้กับงาน ดังนี้ป้องกันการพังทลายของชายฝั่งและตลิ่งริมน้ำ
(Slope Erosion Detail)
วิธีการใช้งานในการป้องกันการพังทลายโดยการปูแผ่นตาข่ายรังผึ้งในบริเวณชายฝั่งทะเล และชาย
ตลิ่งน้ำ เมื่อปูเสร็จแล้วใช้วัสดุ เช่น หินกรวด, ดิน, ลูงรัง ใส่ลงในช่องรังผึ้งและตบอัดให้แน่นจะทำให้การกัดเซาะของน้ำลดลงและชะลอการไหลของน้ำตามทางลาดให้ซึมลง ทำให้การพังทลายของชายฝั่งหยุดลงได้ และสามารถปลูกหญ้าหรือพืชสวยงามให้ปกคลุมชายฝั่งหรือตลิ่งด้านบนซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันดินและชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มความสวยงามมีทัศนียภาพที่ดีต่อโครงการที่ใช้วัสดุนี้
เสริมความแข็งแรงของชั้นดิน (Ground Stabilization)
การใช้ตาข่ายคลุมดินในการเสริมความแข็งแรงของชั้นดิน มักจะใช้ในพื้นดินบริเวณที่อ่อนมากและต้องการความแข็งแรงสูง การปูแผ่นตาข่ายรังผึ้งจะช่วยในการกระจายแรงกดบริเวณที่ยานพาหนะผ่านให้กระจายออกไป ทำให้พื้นดินบริเวณที่ใช้งานมีความเสถียรและไม่เกิดการยุบตัวเป็นจุด ๆ ทำให้พื้นที่ถนน, โกดัง, ลานเก็บสินค้าที่ต้องการความแข็งแรงมีความทนทาน ไม่ยุบตัว
การทำกำแพงดินในบริเวณที่มีความชันสูง (Retaining Walls Detail)
การใช้ตาข่ายคลุมดินในบริเวณที่จำกัดและมีความลาดชันสูง เช่น ถนนริมคลอง ถนนริมเหว เป็นต้น แผ่นตาข่ายรังผึ้งจะเป็นวัสดุที่ดีที่สุดและทนทานที่สุดในการทำกำแพงดินที่มีความลาดชันสูงและมีความปลอดภัยสูง เพราะสามารถรับน้ำหนักและระบายน้ำที่ขังออกจากดินได้ดี ตลอดจนเป็นวัสดุที่มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทานต่อสารเคมีในดิน และดีที่สุดในการทำกำแพงกันดิน
ตาข่ายเสริมกำลังดิน – GEOGRID
ตาข่ายเสริมกำลังดิน ให้ดินมีความทนทาน และรับแรงได้มากขึ้น ใช้ในการก่อสร้างบนดินอ่อน หรือการก่อสร้างบนดินที่มีการกดทับเป็นพิเศษ เช่น ถนน, ทางรถไฟ, คลอง, พื้นที่ลาดชันเป็นต้น
1. High strength polyester uniaxial & biaxial warp-knitting
ผลิตจากโพลีเอสเตอร์(polyester) ทนแรงดึงสูง เคลือบด้วย PVC ที่ละลายในน้ำมัน และแบบเคลือบด้วย PVCที่ละลายในน้ำ ถักทอแบบหนาและเย็บเพื่อเสริมความแข็งแรง สามารถทนแรงบิดได้ดี
การใช้งาน
- ทำให้ฐานถนนที่อ่อนตัวแข็งแรงขึ้นในการสร้างถนนคุณภาพสูง, รางรถไฟ และการแยกชั้นดิน
- ใช้ในการสร้างตลิ่ง, ที่ลาดชัน และกำแพงกันดิน
- ปรับปรุงความหลากหลายของดิน
- ติดตั้งบนรันเวย์สนามบิน
2. Warp-knitting polyester uniaxial & biaxial geogrid
ผลิตจากโพลีเอสเตอร์(polyester) เคลือบด้วย PVC ที่ละลายในน้ำมัน และแบบเคลือบด้วย PVC ที่ละลายในน้ำ ถักทอแบบหนาและเย็บเพื่อเสริมความแข็งแรง สามารถทนแรงบิดได้ดี
การใช้งาน
- ทางด่วน, การซ่อมแซมถนน และทางลาดตลิ่ง
- เสริมกำลังชายตลิ่ง และทางลาดตลิ่ง
- การปรับปรุงความหลากหลายของดิน
3. Fiberglass
ผลิตจากไฟเบอร์กลาสเคลือบด้วยยางมะตอย ถักทอแบบหนาและเย็บเพื่อเสริมความแข็งแรง
การใช้งาน
- การรักษาบำรุงถนนยางมะตอย, เสริมกำลังถนนลาดยาง
- เชื่อมถนนคอนกรีตเก่ากับถนนที่สร้างใหม่, ป้องกันผลกระทบการแตกกระเทาะเนื่องจากการหดตัวของรอยเชื่อม
- ใช้ในการติดตั้งในการซ่อมแซมถนน และการขยายถนน, ขัดขวางการแตกกระเทาะตามรอยเชื่อมที่ไม่เรียบ
- ใช้สำหรับการเสริมกำลังการทับถมของตะกอนเป็นชั้นดิน geogrid สามารถช่วยในการแทรกซึมของน้ำ และ ช่วยในการเสริมความแข็งของดิน, ยับยั้งการทรุดตัว และกระจายการรับแรงของถนนอย่างเท่าเทียม, ปรับปรุงความแข็งแรงทั้งหมดของฐานถนน
Geonet ถูกใช้เป็นระบบระบายน้ำโดยมีโครงสร้างตาข่ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ยึดติดกันโดยมีจุดเชื่อม ประกอบด้วยชั้น HDPE (high-density polyethylene) และอาจบุทั้งสองด้านด้วยชั้นแผ่นใยสังเคราะห์เพื่อใช้เป็นชั้นกรองระบายน้ำหรือ ใช้ชั้นวัสดุทึบน้ำบุทั้งสองด้าน ซึ่งจะสร้างเป็นวัสดุประกอบสังเคราะห์ (geocomposites)
คุณลักษณะ
เนื่องจากคุณสมบัติหลักของ Geonet คือการระบายน้ำในแนวระนาบของโครงสร้าง อัตราการไหลในแนวระนาบของน้ำหรือ ปริมาตรน้ำ ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง อย่างไรก็ตามยังมีคุณสมบัติอื่น ที่สามารถส่งผลต่ออายุการใช้งานของ Geonet ดังนั้นจำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติด้านกายภาพ ทางกล ความทนทาน และทางสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
คุณสมบัติทางกายภาพ สำหรับการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพจะใช้มาตราฐาน ASTM , ISO หรือมาตรฐาน GRI
– ความหนาแน่นหรือความถ่วงจำเพาะ
– น้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่
– ลักษณะการใช้งาน
– องศาของระนาบ
– คุณสมบัติของจุดต่อ
– ขนาดช่องเปิดและรูปร่าง
คุณสมบัติทางกล
– การรับกำลังดึงและการยืดตัว
– การรับกำลังอัดและการแอ่นตัว
– การรับกำลังเฉือน
คุณสมบัติทางชลศาสตร์
– การไหลในแนวระนาบ
คุณสมบัติด้านความทนทาน
– ประเภทของเรซิน
– พฤติกรรมการยืดตัว
– คุณสมบัติของวัสดุที่อยู่ติดกัน
– การอัดตัวของดินเหนียวหรือ อนุภาคขนาดเล็ก
คุณประโยชน์
– การเปลี่ยนแปลงต่างๆของสิ่งแวดล้อมจะส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของ geonets อาทิเช่นความสัมพันธ์กับคุณสมบัติ
อุณหภูมิ
– คุณสมบัติด้านการไหลของน้ำ
– การเจริญเติบโตของพืชภายในโครงสร้าง
– รังสียูวีและสภาพอากาศ
ประเภทการใช้งาน
– ผลิตภัณฑ์ Geonet ของเราใช้สำหรับงานป้องกันการเกาะเซาะ, ชั้นระบายน้ำใต้ฐานราก, งานบ่อฝังกลบขยะ, งานตรวจจับการรั่วไหล, งานถนนและระบายน้ำที่ผิวทาง รวมถึงระบบระบายน้ำใต้ผิวดิน อีกด้วย
กล่องกระชุหิน หรือ Gabion และ Mattress ของทางบริษัท ทอด้วยลวดชุบสังกะสีที่มีคุณภาพสูง และได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ในด้านของความต้านทางแรงดึง (Tensile Strength) ที่มีค่าเท่ากับ 38-55 กก./มม. และน้ำหนักสังกะสีที่เคลือบ Galvanized ที่ไม่ต่ำกว่า 240 กรัม/ตรม. ทุกกล่อง
คุณลักษณะที่สำคัญของกล่องชะลุหิน
- มีความอ่อนตัว ติดตั้งง่าย ประหยัดต้นทุน
- มีความแข็งแรง รับน้ำหนักและแรงต้านทานได้สูง
- น้ำหรือของเหลวสามารถซึมผ่านได้ดี
- มีความทนทานต่อสภาพอากาศ ทนต่อการกัดเซาะ
- มีความยืดหยุ่นและรักษาสิ่งแวดล้อม
Gabion
กล่องชะลุหิน (Gabion) เป็นกล่องบรรจุหินที่ทำมาจากลวดชุบสังกะสี หรือพีวีซี ทอเป็นตาข่ายหกเหลี่ยม ขึ้นรูปเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในกั้นเป็นช่องๆ กล่องกระชุหินจะมีขนาดต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เวลาใช้งานต้องนำมาประกอบเข้าด้วยกันที่สถานที่ติดตั้งโดยใช้ลวดพันยึดติดกันไว้แล้วทำการบรรจุหินที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องตาข่ายเล็กน้อย โดยส่วนมากนิยมใช้หินที่มีความแกร่งเหมาะที่จะนำไปใช้ในงานป้องกันและรักษาหน้าดิน หรือในงานที่เกี่ยวกับระบบควบคุมการกัดเซาะตลิ่งและอุทกภัย เช่น ฝาย (Weirs) แผ่นบุร่องสันเขื่อนและการตกแต่งแนวของแม่น้ำ
Specification of Gabion
Mattress
เมทเทรส (Mattress) เป็นกล่องกระชุหินอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเดียวกับ Gabion แต่มีความสูงและขนาดของตาข่ายเล็กกว่า นอกจากนี้ยังทำฝาตาข่ายให้มีขนาดเท่ากับความกว้างของกล่อแยกต่างหากโดยไม่ติดกับตัวกล่อง สามารถนำไปใช้งานที่มีลักษณะยืดหยุ่นกว่ากล่อง Gabion หรือนำไปใช้ร่วมกัน เช่น นำไปทำแนวกั้นน้ำไหล (Lining Channels) หรือเป็นแผ่นบุรองน้ำ เพื่อยันฐานเขื่อนหรือตลิ่ง
การนำไปใช้งานของเมทเทรส (Mattress)
- การตกแต่งแนวขอบแม่น้ำ
- เป็นแนวเขื่อนกันคลื่นทะเล
- การป้องกันแนวสะพานและท่อระบายน้ำ
- กั้นเขตแดนหรือแนวรั้ว
Specification of Mattress
ในปัจจุบันตัวกล่องกระชุหินถูกนำมาใช้ในงานทางวิศวกรรมโยธาอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยเสริมความหนาแน่นของโครงสร้างภายในงานวิศวกรรมโยธาในพื้นที่ลาดเอียง และป้องกันการพังทลายของชั้นดิน ทั้งนี้เพื่อเสริมความแข็งแรงของพื้นผิวให้สอดคล้องกับงบประมาณที่มีจำกัด และที่สำคัญวัสดุทุกชนิดที่ใช้ผลิตกล่องกระชุหินจะถูกคัดสรรและตรวจสอบให้ได้มาตรฐานการผลิตทุกขั้นตอนด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและได้รับการรับรองคุณภาพภายใต้มาตรฐานอุตสาหกรรมที่เป็นสากล
ตัวอย่างทางด้านงานวิศวกรรม เช่น
- การป้องกันหินตกจากที่สูง
- การรักษาโครงสร้าง
- การตกแต่งแนวขอบแม่น้ำและภูมิทัศน์
- ทำแนวเขื่อนกั้นคลื่นทะเล
- ป้องกันการพังทลายของริมตลิ่ง
- ป้องกันการทรุดตัวของโครงสร้างอาคาร
ลักษณะเด่นของกล่องชะลุหิน
- ประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน เพียงแค่บรรจุหินใส่ในกล่องชะลุหินแล้วปิดผนึก
- การก่อสร้างง่ายไม่ต้องใช้ความสามารถพิเศษ
- แข็งแรงทนทานต่อภัยธรรมชาติและทนต่อการกัดเซาะ
- ทนทานต่อการผิดรูปร่างขนาดใหญ่และไม่พังทลาย
- ความสามารถซึมผ่านของน้ำได้ดี
- ลดต้นทุนในการขนส่ง สามารถทำงานได้โดยไม่เปลืองเนื้อที่
- เป็นมิตรกับธรรมชาติ ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ไม่มีผลเสียต่อธรรมชาติ
ในด้านของกระบวนการผลิตผ่านการตรวจสอบคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้นจนกลายเป็นกล่องกระชุหินที่มีคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้นจนกลายเป็นกล่องกระชุหินที่มีคุณภาพ ลวดชุบสังกะสีจะถูกทอเป็นตาข่ายหกเหลี่ยมโดยบิดเป็นเกลียว 3 รอบ ด้วยเครื่องจักรที่มีมาตรฐานและทันสมัย และตาข่ายที่ทอเต็มผืนแล้วจะนำมาขึ้นเป็นกล่องตามขนาดที่ต้องการโดยช่างที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญงาน ทางบริษัทจังมั่นใจและรับประกันได้ว่า กล่องกระชุกหิน (Gabion Mattress) จะมีคุณภาพและมาตรฐานเพียงพอที่จะนำไปใช้ในลักษณะงานต่างๆ ตามความต้องการและความเหมาะสม
รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specifications)
กล่องลวดตาข่ายเหล็กเคลือบสังกะสีหุ้ม พี.วี.ซี Gabions
1. ลักษณะทั่วไป
- 1.1 กล่องลวดตาข่ายกระชุหินประกอบขึ้นด้วย ลวดเหล็กเคลือบสังกะสีหุ้มด้วย พี.วี.ซี ประกอบเป็นรูปตาข่ายหกเหลี่ยม มีโครงยึดเป้นกล่อง ลักษณะกล่องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางมีผนังตรงกลางมีผนังลวดตาข่ายกั้นเป็นระยะความยาวละมีฝ่าปิดเปิดสำหรับบรรจุหินได้โดยสะดวก
- 1.2 กล่องลวดตาข่ายกระชุหิน ชนิดหุ้มด้วย พี.วี.ซี. (poly vinyl chloride) ต้องเป็นของใหม่และไม่เคยใช้งานมาก่อน ต้องปราศจากรอยตำหนิ รอยปริแตกร้าว และข้อเสียอื่นๆ
2. ขนาดกล่องลวดตาข่ายเหล็กเคลือบสังกะสีหุ้ม พี.วี.ซี. Gabions
- 2.1 ขนาดกล่องที่ต้องการให้จัดทำตามแบบกำหนด ซึ่งมีขนาดมาตรฐานตาม รูปร่างขนาดกล่อง
- 2.2 ขนาดความกว้างและขนาดความยาวของกล่องให้เป็นไปตามแบบ โดยมิติเป็นเมตร
- 2.3 ขนาดความสูงของกล่องต้องไม่ต่ำกว่า 0.50 ม.
- 2.4 ขนาดของตาข่ายให้เป็นไปตามแบบกำหนด มีมิติเป็นเซนติเมตร
- 2.5 แต่ละกล่องต้องประกอบด้วย ผนังตาข่าย (diaphragm) กั้นทุกระยะไม่เกิน 1.00 ม. ตลอดความยาวของกล่อง
3. ขนาดของลวดและสังกะสีที่เคลือบ
ขนาดและความความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ของลวด และน้ำหนักของสังกะสีที่เคลือบ ต้องมีขนาดและความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ และน้ำหนักของสังกะสีที่เคลือบตามกำหนดดังนี้
สำหรับการทดสอบหาน้ำหนักของสังกะสีที่เคลือบ ให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 71-2532
4. การด้านแรงดึง
ลวดเหล็กเคลือบสังกะสี ซึ่งนำมาทำเป้นกล่องลวดตาข่ายต้องมีการต้านแรงดึง (tensile strength) ระหว่าง 38-55 กก./มม. การทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 71-2532
5. ขนาดของรูปตาข่าย
ลวดเหล็กสังกะสี ต้องทำการถักให้เป็นรูปหกเหลี่ยมมีลักษณะดังนี้
- 5.1 ขนาดตาข่าย ลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมขนาด 8 x 10 ซม. หรือ 10 x 12 ซม.ตามที่กำหนดในแบบ(ความคลาดเคลื่อน ….1 ซม.)
- 5.2 ลักษณะเกลียว บิดลวดเหล็กเคลือบสังกะสีให้เป็นเกลียว จำนวน 3 เกลียว ดังรูปโดยสังเขป
6. ความหนาวของ พี.วี.ซี. ที่หุ้ม
ลวดเหล็กเคลือบสังกะสีจากข้อ 3 ต้องนำมาหุ้มด้วย พี.วี.ซี. (poly vinyl chloride) ตามกรรมวิธีของผู้ผลิต เมื่อหุ้มด้วย พี.วี.ซี. แล้วความหนาของ พี.วี.ซี. ต้องมีความหนาเฉลี่ยระหว่าง 0.45-0.55 มม. และแต่ละค่าต้องไม่น้อยกว่า 0.40 มม.
7. คุณสมบัติการหุ้มของ พี.วี.ซี.
ที่ใช้ทำกล่องลวดตาข่ายเหล็กเคลือบสังกะสีหุ้ม พี.วี.ซี. ต้องไม่มีรอยปริแตกร้าว และต้องมีความทนทานต่อการถักกร่อนและทนทานต่ออุณหภูมิดังต่อไปนี้
- 7.1 การทดสอบรอยปริรอยแตกร้าวของ พี.วี.ซี. โดยการแช่ลวดเหล็กเคลือบสังกะสีหุ้ม พี.วี.ซี. ส่วนที่เป็นเกลียว (ปลายที่ถูกตัดไม่ต้องจุ่ม) ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCL) 50% โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันในอุณหภูมิปกติต้องไม่เกิดก๊าซไฮโดรเจนบนผิวของลวดเหล็กเคลือบสังกะสี หุ้มพี.วี.ซี. เมื่อนำไปทดสอบตามข้อ 8.1
- 7.2 ความทนทานต่อการกัดกร่อนที่ปลายลวด โดยการจุ่มลวดเหล็กเคลือบสังกะสี หุ้ม พี.วี.ซี. ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCL) 50% โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 100 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันที่อุณหภูมิปกติ การกัดกร่อนที่กัดลึกเข้าไปจากปลายลวดเหล็กหลังจากตัดปลายลวดเหล็กออกตรวจสอบจะต้องไม่เกิน 30 มม.เมื่อนำไปทดสอบตามข้อ 8.2 (สำหรับผลการทดสอบให้ใช้ค่าเฉลี่ย)
- 7.3 ความทนทานต่ออุณหภูมิ โดยการวางลวดเหล็กเคลือบสังกะสี หุ้ม พี.วี.ซี. ไว้ในที่มีอุณหภูมิ 105 องศาเซนติเกรด เป็น 100 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน คุณสมบัติขิง พี.วี.ซี. จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อนำไปทดสอบตามข้อ 8.3
8. วิธีการทดสอบลวดเหล็กเคลือบสังกะสี หุ้ม พี.วี.ซี.
ที่ใช้ทำกล่องลวดตาข่ายเหล็กเคลือบสังกะสีหุ้ม พี.วี.ซี. ต้องไม่มีรอยปริแตกร้าว และต้องมีความทนทานต่อการถักกร่อนและทนทานต่ออุณหภูมิดังต่อไปนี้
8.1 การทดสอบรอยปริแตกร้าวของ พี.วี.ซี. มีวิธีดังนี้
- 8.1.1 นำลวดเหล็กเคลือบสังกะสี หุ้ม พี.วี.ซี. ตัวอย่างส่วนที่เป็นเกลียว จำนวน 3 ชิ้นทดสอบ หุ้มพี.วี.ซี. เมื่อนำไปทดสอบตามข้อ 8.1
- 8.1.2 แช่ชิ้นทดสอบในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCL) 50% โดยน้ำหนักเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยให้ปลายลวดโผล่พ้นสารละลาย
- 8.1.3 สังเกตดูว่าเกิดก๊าซไฮโดรเจนบนผิวของลวดเหล็กเคลือบสังกะสีหุ้ม พี.วี.ซี. ที่ตัวอย่างหรือไม่
8.2 ความทนทานต่อการกัดกร่อนที่ปลายลวด มีวิธีดังนี้
- 8.2.1 นำลวดเหล็กเคลือบสังกะสีหุ้ม พี.วี.ซี.ตัวอย่าง จำนวน 3 ชิ้น ทดสอบแต่ละชิ้นยาวประมาณ 80 มิลลิเมตร
- 8.2.2 แช่ชิ้นทดสอบลงในสารละลายกรดไฮโดรริก(HCL) 50% โดยน้ำลึกประมาณ 30 มิลลิเมตร (สารละลายปริมาตร200 มิลิเมตร ในบิกเกอร์ 1,000 มิลลิเมตร) เป็นเวลา 100 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง
- 8.2.3 เมื่อครบเวลาที่กำหนด ให้นำชิ้นทดสอบล้างด้วยน้ำ เช็ดให้แห้ง
8.2.4 วัดความยาวจากปากลวดทั้งสองข้าง ที่สารละลายกรดไฮโดรริกซึมเข้าไปเป็นมิลลิเมตร แล้วนำมาเฉลี่ย (โดยวัดจากปลาย พี.วี.ซี. ถึงสังกะสีที่หุ้มลวด)
8.3 ความทนทานต่ออุณหภูมิ มีวิธีดังนี้
- 8.3.1 นำลวดเหล็กเคลือบสังกะสี พี.วี.ซี. ตัวอย่าง จำนวน 3 ชิ้นทดสอบ
- 8.3.2 นำชิ้นทดสอบใส่ในตู้อุณหภูมิ 105 องศาเซนติเกรด เป็นเวลา 100 ชั่วโมง
- 8.3.3 เมื่อครบเวลาที่กำหนดนำลวดเคลือบสังกะสีหุ้ม พี.วี.ซี. ตัวอย่าง มาทำให้เย็นที่อุณหภูมิห้องและตรวจดูว่าผิว พี.วี.ซี. ที่หุ้มมีคุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง (ตามข้อ 1.2)
8.4 การทดสอบน้ำหนัก ฃของสังกะสีที่เคลือบลวด กรัมต่อตารางเมตร ให้ใช้วิธีทดสอบตาม มอก. 71-2532
8.5 การทดสอบการต้านแรงดึง (tensile strength) ของลวดเหล็กเคลือบสังกะสีให้ใช้วิธีการทดสอบตาม มอก.71-2532
วิธีการติดตั้งกล่องแกเบียนและเมทเทรส
การขนส่งวัสดุ
แกเบียนถูกผลิตขึ้นโดยมีส่วนประกอบที่จำเป็นตามมาตรฐาน ASTM A975-97 โดยจะถูกจัดส่งมาในรูปของกล่องแบบซ้อนทับรวมกันเป็นมัดเพื่อความสะดวกในการขนส่งละขนย้ายโดยขดลวดถักจะถูกจัดส่งมาพร้อมกันเพี่อใช้ในการขึ้นรูปกล่องแกเบียน
การประกอบ
วางกล่องแกเบียนลงบนพื้นราบละแข็ง จากนั้นจึงแก้มัดออกนำเศษวัสดุที่ใช้มัดออกให้หมด ยกแผ่นปิดข้างรวมทั้งแผ่นกระบังกั้นขั้นตั้งให้ตรงเพื่อประกอบเป็นกล่องฝาปิด
(ดังรูปที่ 1)
ยึดแผ่นตะแกรงด้านหน้าและด้านหลังเข้ากับแผ่นปิดข้างทั้งสองด้านและแผ่นกระบังกลางตรงบริเวณมุมด้านบนของแผ่นกระบังกลางจะมีลวดขอบส่วนที่ยื่นออกมากดังกล่าวมัดให้ติดกันเพื่อประคองรูปร่างกล่องในเบื้องต้น จากนั้นใช้ลวดถักที่ส่งมาเป็นม้วนถักยึดขอบให้ติดกันตลอดโดยถักยึดแผ่นฝาปิดด้วยดังแสดง (ดังรูปที่ 2 )หรืออาจใช้ห่วงยึดที่มีระยะห่างแต่ละห่วงกันไม่เกิน 15 มิลลิเมตร สำหรับวิธีการใช้ลวดถักนั้นให้ตัดขนาดลวดให้ยาวเพียงพอลวดถักเพื่อยึดแป่นตะแกรงเข้าด้วยกันโดยอาจถักหนึ่งหรือสองรอบ เมื่อถักเสร็จให้งอปลายลวดถักที่เหลือเข้าด้านในกล่องตะแกรงเพื่อป้องกันการทิ่มตำ จากนั้นดึงแผ่นกระบังลวดให้ตั้งตรงแล้วติดติดกับแผ่นข้างด้วยวิธีเดียวกัน
การจัดวางและใส่วัสดุลงภายใน
หลังจากปรับแต่งพื้นบานรากที่จะวางกล่องแกเบียนให้ได้รับดีแล้ว จึงวางกล่องแกเบียนลงในตำแหน่งที่เหมาะสมโดยต้องยึดกล่องแกเบียนเข้าด้วยกัน และให้ได้แถวจากนั้นใส่หินใหญ่ลงภายใน กินที่ใส่ต้องแข็งอาจมีเหลี่ยมมุมหรือกลมและต้องสามารถทนต่อการถักกร่อนของน้ำหรือสภาวะอากาศตลอดช่วงอายุการใช้งาน ก้อนหินควรมีขนาดระหว่าง 100 มิลลิเมตร ถึง 200 มิลลิเมตร ในการใส่หินใหญ่นี้อาจต้องเรียงหินให้มีหินก้อนเล็กแทรกระหว่างช่องว่างของหินก้อนใหญ่ด้วย สำหรับกล่องที่ใช้เป็นผิวหน้าที่ตั้งตรงและสามารถมองเห็นได้อาจต้องเรียงหินด้วยความปราณีตเพื่อให้ได้ผิวหน้าที่เรียบสวยใส่หินลงในกล่องแกเบียนต้องกระทำโดยลำดับให้มีความหนาคราวละ 300 มิลลิเมตรต่อเนื่องกันในแต่ละช่องเซล จากนั้นจึงวนมาใส่อีกเรื่อยไปจนเต็มการกระทำดังนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้พนังข้างของกล่องแกเบียนเสียรูปร่าง เนื่องจากแรงดันของหินเพียงด้านเดียวดังแสดง (ในรูปที่ 3 ) ในกรณีลวดที่ใช้ทำกล่องแกเบียนเป็นลวดหุ้มด้วยพีวีซี พึงต้องใช้ความระมัดระวังในการใส่หินเนื่องจากความคมและแรงกระแทกของหินอาจทำให้ พีวีซี ฉีกขาดได้ นอกจากนี้ขณะใส่หินยังต้องผูกลวดยึดรั้งแผ่นด้านข้างรวมทั้งแผ่นกำระบังกั้นเข้าด้วยกัน (ในรูปที่ 4) ที่ความสูงประมาณ1/3 และ2/3 ของ ความสูง 1 เมตร โดยยึดในตำแหน่งที่ตรงกันข้ามเพื่อรักษารูปร่างของกล่องไม่ให้ปูดออกขณะใส่หิน ภายหลังจากปิดฝากล่องแกเบียนชั้นแรกเรียบแล้วเมื่อวางกล่องแกเบียนชั้นถัดไปให้ยึดบานของกล่องชั้นบน กับส่วนฝาของชั้นล่างเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดถัก
การปิดฝา
ในการใส่หินต้องใส่เผื่อให้สูงกว่าขอบของกล่องแกเบียนขึ้นมาประมาณ 25-40 มิลิเมตร จากนั้นปรับให้ได้ระดับ ทั้งนี้เมื่อกล่องรับน้ำหนักจากชั้นถัดไปก็จะเกิดการยุบตัวของหินพอดี ก่อนปิดฝาต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าขอบบนของแผ่นกระบังกั้นยังโผล่ให้เห็น จากนั้นปิดฝาลงแล้ว แผ่นฝาจะต้องถูกยึดตลอดแนวขอบเข้าด้วยกันกับแผ่นปิดหัวท้ายและแผ่นกระบังกั้นด้วยกรรมวิธีเดียวกับการประกอบ ปลายลวดถักส่วนที่เหลือจะต้องหักงอเข้าด้านในกล่อง